การขึ้นเครื่องบินเดินทางไกลไปต่างแดน มักสร้างอาการแบบหนึ่งให้เกิดขึ้นกับนักเดินทางเมื่อไปถึงจุดหมายแล้ว
อาการที่ว่านั้นเรียกกันว่า เจ็ตแล็ก (Jet Lag) เป็นความรู้สึกเหนื่อยไม่รู้หาย วิงเวียน ป้ำ ๆ เป๋อ ๆ หลงลืมไปชั่วขณะ หงุดหงิดง่าย อารมณ์เสียโดยไม่มีสาเหตุ กลางคืนนอนไม่หลับแต่กลางวันง่วงหงาว นอกจากนั้นยังทำให้ภูมิต้านทานของร่างกายต่ำ เป็นหวัดเป็นไข้ได้ง่ายเมื่อเจออากาศเปลี่ยน
การรักษาอาการเจ็ดแล็กไม่มีอะไรดีไปกว่าการพักผ่อน ต้องนอนพักเป็นวัน ๆ จึงจะหายจากอาการดังกว่า นักวิทยาศาสตร์เขาว่าการข้ามเส้นแบ่งเวลา 1 ชั่วโมงต้องใช้เวลาพักให้หายเจ็ตแล็ก 1 วัน ถ้าเดินทางไปยุโรป ข้ามเส้นแบ่งเวลา 6 เส้นก็ต้องใช้เวลา 6 วัน จึงจะหาย
ในกรณีของนักธุรกิจหรือนักท่องเที่ยวที่ไม่มีเวลามากนัก การจะนอนพักเฉย ๆ เสียตั้งหลายวันเป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้ จึงต้องหาวิธีป้องกันหรือบรรเทาอาการเจ็ตแล็กไม่ให้เกิดขึ้น หรือให้เกิดน้อยที่สุด มียาหลายชนิดโฆษณาว่ากินแล้วจะช่วยให้ไม่เกิดอาการเจ็ตแล็ก แต่ไม่ได้ผลกับคนทุกคน และอาจยังเกิดผลข้างเคียงได้ด้วย
การเตรียมตัวสู้เจ็ตแล็กด้วยวิธีธรรมชาติ น่าจะเป็นวิธีที่ดีที่สุด โดยสิ่งที่จะต้องทำคือ
|
|
จัดการธุระต่าง ๆ ให้เรียบร้อยจะได้ไม่มีความวิตกกังวลติดค้างในสมอง
|
|
นอนให้เพียงพอ |
|
ไม่ดื่มสุรา หรือเครื่องดื่มมีแอลกอฮอล์ในช่วงวันก่อนเดินทาง |
|
ถ้าทำได้ให้ปรับช่วงเวลานอน และตื่นให้ใกล้เคียงกับเวลาที่จุดหมายปลายทางสัก 2-3 วันก่อนออกเดินทาง |
|
เชื่อกันว่าการเดินทางไปทางตะวันตกจะทำให้เกิดเจ็ตแล็กน้อยกว่าการดินทางไปทางตะวันออก ดังนั้นในการเดินทางไปทางอเมริกาภาคตะวันออกจึงมีคนใช้วิธีเดินทางไปทางยุโรป แทนที่จะไปทางแปซิฟิก |
|
ว่ากันว่าเที่ยวบินกลางวันจะทำให้รู้สึกอาการเจ็ตแล็กน้อยกว่าเที่ยวบินกลางคืน |
|
และในระหว่างเดินทาง สิ่งที่ควรทำคือ |
|
1. |
ดื่มน้ำมาก ๆ เลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์หรือเครื่องดื่มอัดลม |
2. |
นอนบนเครื่องบินให้หลับ |
3. |
ออกกำลังกายบ้างโดยการลุกขึ้นยืนหรือเดิน หรืออาจจะบริหารร่างกายอยู่กับที่นั่ง |
4. |
อย่ารับประทานอาหารมากเกินไป |
5. |
ถ้าเป็นเที่ยวบินไกล ๆ ที่มีช่วงจอดแวะกลางทาง ควรล้างหน้าล้างตาให้สดชื่น |
6. |
ง่าย ๆ เพียงเท่านี้ก็อาจช่วยให้อาการเจ็ตแล็กบรรเทาไปได้ในระดับหนึ่ง | |
ติดตามเรื่องเกร็ดท่องเที่ยวอื่นๆในบทต่อไป ยังมีเรื่องน่าสนใจจะเล่าให้ฟังอีกมากมายครับ |